ศัตรูพืชและวิธีการกำจัด

โรคปาล์มน้ำมัน
โรคที่มักจะเกิดขึ้นกับต้นปาล์มน้ำมันที่สำคัญ คือ
1. โรคก้านทางใบบิด (Crown disease)
สาเหตุ ยังไม่ทราบแน่ชัด เข้าใจว่า เกิดจากพันธุกรรมหรืออาจเกิดจากความไม่สมดุลของธาตุอาหาร โดยเฉพาะธาตุไนโตรเจน และแมกนีเซียม พบมากกับปาล์มน้ำมันในแปลงปลูกอายุ 1-3 ปี เป็นโรคที่พบเสมอ แต่เมื่อปาล์มอายุมากขึ้น อาการของโรคจะหายไปได้เอง
ลักษณะอาการ เกิดแผลเน่าบริเวณใบยอด เมื่อยอดเจริญทางยอดคลี่ออกบริเวณที่เคยเป็นแผลเน่าใบย่อยจะแห้งฉีกขาดไป ก้านทางบริเวณนี้จะเหลือแต่ตอก้านทางส่วนนี้จะหักโค้งลง เมื่อต้นปาล์มน้ำมันสร้างยอดใหม่ก็จะแสดงอาการเช่นนี้ จนบางครั้งทางจะหักล้มโดยไม่แสดงอาการเน่าก่อน
2. โรคยอดเน่า (Spere rot32)
สาเหตุ ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่จากการแยกหาเชื้อ สาเหตุจะพบเชื้อรา Fusarium sp. และแบคทีเรีย Erwinia sp.
ระบาดมากในช่วงฤดูฝน ส่วนมากจะพบกับปาล์มน้ำมัน อายุ 1-3 ปี ในสภาพนำขังจะพบโรคนี้มาก
ลักษณะอาการ โคนยอดจะเน่า ระยะแรกแผลมีสีน้ำตาล ต่อมาจะขยายทำให้ใบยอดเน่าแห้งสามารถดึงหลุดออกได้
การป้องกันกำจัด ป้องกันแมลงอย่าให้มากัดกินบริเวณยอด ถ้าพบโรคในระยะแรกตัดส่วนที่เป็นโรคออกให้หมด แล้วฉีดพ่นด้วยยาฆ่าเชื้อรา เช่น ไทแรม อาลีแอท
3. โรคทะลายเน่า (Marasmius ruch rot)
สาเหตุ เชื้อรา (Marasmius sp.)
ลักษณะอาการ บนทะลายปาล์มน้ำมันก่อนจะสุกจะพบเส้นใยสีขาวของเชื้อขึ้นระหว่างผลและเจริญเข้าไปในผล ทำให้เปอร์เซ็นต์กรดไขมันอิสระเพิ่มขึ้น ผลเน่าเป็นสีน้ำตาลดำ มีลักษณะนุ่ม ถ้ามีสภาพเหมาะสมความชื้นมาก เชื้อจะสร้างดอกเห็ดบนทะลาย
การป้องกันกำจัด กำจัดทะลายที่แสดงอาการออกให้หมด รวมทั้งช่อดอกตัวเมียที่ผสมไม่ดี เศษซากเกสรตัวผู้ที่แห้ง ตัดส่วนที่เป็นโรคแล้วฉีดพ่นด้วยสารเคมี เช่น antigroterzan หรือ antracol
4. โรคลำต้นส่วนบนเน่า
สาเหตุ รายงานจากต่างประเทศพบว่า เกิดจากเชื้อรา Philinus sp. ร่วมกับ Ganoderma sp.
ลักษณะของอาการ พบว่าส่วนบนของลำต้นจากยอดประมาณ 0.5 เมตร จะหักครั้งแรกกับต้นอายุ 9 ปี เมื่อผ่าดูพบว่า เชื้อเข้าทางฐานของก้านทาง ทำให้เกิดอาการบริเวณลำต้น ในขณะที่ตาและรากแสดงอาการปกติ
การป้องกันกำจัด เผาทำลายต้นปาล์มน้ำมันที่เป็นโรค อย่าเคลื่อนย้ายต้นปาล์มน้ำมันที่เป็นโรคผ่านไปในแปลงที่ปลูกปาล์มน้ำมัน ในกรณีที่พบอาการใหม่ๆ ถากส่วนที่เป็นโรคออกแล้วทาบริเวณแผนด้วยสารป้องกันและกำจัดโรคพืช

แมลงศัตรูปาล์มน้ำมัน
ด้วงแรด เป็นแมลงศัตรูที่สำคัญของปาล์มน้ำมันในภาคใต้ปัจจุบันมีการโค่นล้มต้นปาล์มอายุมาก และปลูกทดแทนทำให้มีแหล่งขยายพันธุ์ของด้วงแรดมากขึ้น และเข้าทำลายต้นปาล์มที่ปลูกใหม่ ตั้งแต่ต้นปาล์มน้ำมันขนาดเล็กจนถึงปาล์มน้ำมันที่ให้ผลผลิต การเกิดวาตภัย เช่น พายุ ทำให้ต้นมะพร้าวและปาล์มน้ำมันล้มตาย ก็เป็นแห่งขยายพันธุ์ของด้วงแรดในเวลาต่อมา
ลักษณะการทำลาย

เฉพาะตัวเต็มวัยเท่านั้นที่เป็นศัตรูปาล์มน้ำมันโดยบินขึ้นไปกัดเจาะโคนทางใบทำให้หักหรือกัดเจาะทำลายยอดอ่อน ทำให้ทางใบที่เกิดใหม่ไม่สมบูรณ์ มีรอยขาดแหว่งเป็นริ้ว ๆ คล้ายรูปสามเหลี่ยม ถ้าโดนทำลายมากจะทำให้ใบที่เกิดใหม่ แคระแกร็น หรือเป็นเหตุให้เกิดโรคยอดเน่า จนถึงตายได้
แหล่งขยายพันธุ์ด้วงแรด
แหล่งขยายพันธุ์ด้วงแรด ได้แก่ ซากเน่าเปื่อยของลำต้น หรือตอของต้นปาล์มน้ำมัน ซากทะลายปาล์ม กองมูลสัตว์เก่า กองปุ๋ยคอก กองขุยมะพร้าว กองกากเมล็ดกาแฟ กองขยะ เป็นต้น
การป้องกันกำจัด
โดยวิธีเขตกรรม กำจัดแหล่งขยายพันธุ์โดย
1. เผาหรือฝังซากลำต้นหรือตอของปาล์มน้ำมัน
2. เกลี่ยกองซากพืช กองมูลสัตว์ ให้กระจายออก โดยมีความสูงไม่เกิน 15 เซนติเมตร
3. ถ้ามีความจำเป็นต้องกองซากพืชหรือมูลนานเกิน 2-3 เดือน ควรหมั่นพลิกกลับกองเพื่อตรวจหาไข่หนอน ดักแด้ ตัวเต็มวัย เพื่อกำจัดเสีย

โดยวิธีกล หมั่นทำความสะอาดบริเวณโคนทางใบยอดอ่อน หากพบรอยแผลเป็นใช้เหล็กแหลมแทงด้วงแรดเพื่อกำจัด และใส่สารฆ่าแมลงป้องกันด้วงเข้ามาวางไข่
โดยใช้สารฆ่าแมลง ใช้ Fhuradan 3% อัตรา 200 กรัม/ต้น ใส่รอบยอดอ่อน และซอกโคนทางใบถัดออกมา หรือใช้สาร Sevin 85% WP ผสมขี้เลื่อยในอัตราสารฆ่าแมลง 1 ส่วนต่อขี้เลื่อย 3 ส่วน ใส่รอบยอดอ่อน ซอกโคนทางใบเดือนละ 1 ครั้ง หรือใช้ลูกเหม็นอัตรา 6-8 ลูกต่อต้น โดยใส่ไว้ที่ซอกโคนทางใบ
โดยชีววิธี ในธรรมชาติจะมีเชื้อราเขียวและเชื้อไวรัสช่วยทำลายหนอนด้วงแรด โดยผสมซากเน่าเปื่อยของพืช ขี้วัว ขุยมะพร้าว กากกาแฟ และขี้เลื่อย ผสมคลุกกันเพื่อให้ด้วงแรดมาวางไข่ และขยายพันธุ์ จนถูกเชื้อราเข้าทำลายและตายในที่สุด

ด้วงกุหลาบ เป็นศัตรูพืชสำคัญชนิดหนึ่งของต้นปาล์มน้ำมันขนาดเล็ก ซึ่งย้ายไปปลูกในแปลงใหญ่ โดยด้วงจะกัดกินใบในช่วงเวลากลางคืน ถ้ารุนแรงจะทำให้ปาล์มน้ำมันโกร๋น ชงักการเจริญเติบโต จะพบมากในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน
การป้องกันกำจัด
ใช้สารฆ่าแมลงประเภท Carbaryl (Sevin 85%) WP อัตรา 40 กรัม/น้ำ 20 ลิตร หรือ Carbasulgan (Posse 20% EC) อัตรา 40 มิลลิลิตร ต่อ น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุด 7-10 วัน

สัตว์ศัตรูปาล์มน้ำมัน สัตว์ที่ทำความเสียหายให้กับปาล์มน้ำมัน ส่วนมากเป็นสัตว์ที่มีถิ่นอาศัยในป่าธรรมชาติมาก่อน สัตว์ที่เป็นศัตรูปาล์มน้ำมัน เช่น หนูพุกใหญ่ หนูท้องขาว เช่น กระแตธรรมดา นกเอี้ยง นกขุนทอง หมูป่า อีเห็น และที่พบมากคือ หนู
การป้องกันกำจัดหนู โดยไม่ใช้สารเคมี
การล้อมรั้ว ปาล์มน้ำมันที่มีอายุ 1-3 ปี ควรล้อมห่างโคนต้น ประมาณ 15 เซนติเมตร โดยใช้เสาไม้ไผ่ 4 เสาปักเป็นหลักยึดรั้วตาข่ายให้มั่นคง ความสูงของรั้ว 45 เซนติเมตร
การล้อมตี ใช้คนหลายคนช่วยกัน วิธีนี้ช่วยลดปริมาณหนูลงระยะหนึ่ง ถ้าจะให้ได้ผลดีจะต้องทำบ่อยๆ ครั้ง ข้อเสีย คือ เปลืองแรงงานและเวลามาก
– การดัก เช่น กรงดัก กับดัก หรือเครื่องมือดักหนูจะให้ผลดีในเนื้อที่จำกัด เหยื่อดักควรคำนึงว่าสัตว์ชนิดที่ต้องการดักมีความคุ้นเคยหรือต้องการอาหารชนิดใดมีมากน้อยเพียงใด
– การขตกรรม โดยหมั่นถางหญ้าบริเวณโคนต้นปาล์มอย่าให้มีหญ้าขึ้นรกเพราะเป็นที่หลบอาศัยที่ดีของสัตว์ศัตรูปาล์มน้ำมัน
การยิง ใช้ในกรณีสัตว์ศัตรูปาล์มเป็นสัตว์ใหญ่ เช่น หมูป่า เม่น ช้างป่า
การอนุรักษ์สัตว์ศัตรูธรรมชาติ เช่น งู พังพอน เหยี่ยว นกเค้าแมว และนกแสก ควรสงวนไว้ให้สมดุลกับธรรมชาติ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัวของข้อมูล (Privacy Policy) และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะ สำหรับการวิเคราะห์ และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะใดๆ ของผู้ใช้งาน

บันทึกการตั้งค่า